เรื่องของ เด็กชายหัวโหนก 3


           ความเดิมตอนที่แล้ว  พ่อแม่ของ เด็กชายหัวโหนกอยู่ในเหตุการณ์วิกฤตน้ำท่วมปี54 
เหตุการณ์น้ำท่วม ผ่านไป 2 เดือน ก็เริ่มคลี่คลาย น้ำเริ่มทยอยลด เหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ  เมื่อทราบข่าวดี ทุกคนอยากกลับบ้านเพื่อเข้าไปทำความสะอาดบ้านอันเป็นที่รักของตนเอง แม้การกลับมาเห็นภาพแรก กลิ่นอับ รอยคราบน้ำท่วมสูงสุด บรรยากาศ สภาพบ้านจะทำให้หลายคนน่าสะเทือนใจ น้ำตาซึม แต่ก็เกิดฮึดสู้ลงมือ ช่วยกันทำความสะอาดตามกำลังที่สามารถจะทำได้หลังล้างทำความสะอาดเสร็จ ก็เกิดมหกรรมซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ทันที วัสดุก่อสร้าง เช่น ทรายและช่างกระเบื้องขาดแคลน ไปทั่วพื้นที่น้ำท่วมในกรุงเทพและต่างจังหวัด
หากใครช่างสังเกต ผ่านไป สถานที่แถวบ้านที่เคยประสบเหตุครั้งนั้น ฝั่งธน แถวตลิ่งชัน  ยังคงเห็นรอยคราบน้ำ ตามกำแพงรั้วบ้าน ยังมีให้เห็นเตือนความจำในอีกหลายปีต่อมา

จากแผนเดิมที่ทางกลุ่มผู้ปกครอง เตรียมจัดกิจกรรมปิดเทอมปีที่ 2  เมือเกิดน้ำท่วม เป็นอันว่าการต้องงดกิจกรรมไว้ก่อน  โดยมาจัดกันปีที่3 และ4 จากนั้น กระนั้นเวลาก็ล่วงเลยหลายปี วุ่นวายกับการเตรียมย้ายโรงเรียนเข้า ป.1 และการปรับตัว ประกอบกับช่วง 2 ปี ที่มีการมีเหตุการณ์กีฬาสีประจำชาติรอบสอง  เกิดความไม่สงบเนืองๆ เสียง วี้ดบึม ต่อเนื่อง ชาวนาเดินขบวน ต่อเนื่อง โครงการโรงเรียนสอนศิลปะคงยังเป็นเพียงแนวคิดอยู่ภายในใจลึกๆของพ่อแม่เด็กชายหัวโหนก  


วันคืนผ่านไป จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ปีแล้วปีเล่า นานเกือบ 8 ปี พ่อแม่ของเด็กชายหัวโหนกหาข้อมูล ค้นคว้า โดยไปตามหอศิลป์ ร้านหนังสือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ต่างๆ รวมทั้งไปที่ญี่ปุ่น เอ...ยิ่งค้นยิ่งเจอ ดูเหมือนความรู้จะไม่มีที่สิ้นสุดเลยนะ  เมื่อประเมินดูเห็นว่าได้ข้อมูลน่าสนใจมากเพียงพอ ก็ได้เวลาลงมือปฏิบัติ ส่วนใหญ่มักสอนให้เด็กชายหัวโหนกได้ทดลองปฏิบัติก่อน เมื่อพบอุปสรรค หรือ ผิดพลาด ก็นำบทเรียนมาทบทวน แก้ไข  ปรับปรุง ประเมินผล เริ่มใหม่อีกครั้ง ทำซ้ำ จนเกิดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการและเชื่อมโยง ด้วยความอดทนและใจเย็น  โดยมีเด็กชายหัวโหนก ให้ความร่วมมือทำกิจกรรมด้วยดีอยู่เสมอ

แม้ต่อมาหลาย ครั้ง จะมีความพยายามทำโครงการโรงเรียน มักได้รับเสียงคัดค้านต่างๆ แย้งว่าไม่มีข้อมูลทางการตลาดและความคุ้มค่าในการลงทุนมาสนับสนุน ประกอบกับจังหวะเวลาที่ยังไม่ลงตัว  ทำให้บ่อยครั้งที่เกิดความท้อใจ ลังเล สงสัย ทำให้ไม่สบายใจ จำต้องชะลอออกไปก่อน แต่เมื่อมองเห็นหน้าเด็กชายหัวโหนก ก็อดคิดไม่ได้ว่า หากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเด็กชายขณะเดียวกันก็สามารถเผื่อแพร่ให้เด็กคนอื่นๆที่สนใจด้วย น่าจะทำให้หลายคนได้รับประโยซน์และมีความสุขตอบแทนเหมือนที่พ่อแม่หัวโหนกเคยได้รับจากผู้ใหญ่ใจดีหลายๆท่านให้กำลังใจและสนับสนุนให้ ทำในสิ่งที่เรารักและ มีโอกาสที่จะเติบโตและงดงามตามศักยภาพของตนเองและเผื่อแพร่ความสุขไปยังผู้อื่นต่อไป


ในที่สุดเมื่อจังหวะและปัจจัยต่างๆมีความพร้อม จึงได้เวลาเป็นที่มาของ โครงการ "โปรเจค แอททีเย่ " เป็นผลจากประสบการณ์ แนวคิดที่จะสอนศิลปะแนวทางบูรณาการและสร้างสรรค์ ด้วยเจตนารมณ์ที่ดีเป็นรากฐาน โดยมีเมตตาเปรียบเป็นน้ำและกัลยาณมิตรเปรียบเป็นปุ๋ย หล่อเลี้ยงความมุ่งมั่นและความตั้งใจ เติบโตชูช่อใบงาม และโอกาสที่เหมาะสมเป็นสภาพแวดล้อม ตามเหตุและปัจจัยที่เหมาะสม โดยนำแนวคิดที่สามารถพึ่งตนเองและพึ่งพาอาศัยผู้อื่นได้  ตามที่ ปิกัสโซ่ เคยกล่าวไว้ว่า ' Every child is an artist " ( เด็กๆทุกคนคนคือ ศิลปิน)  เราเชื่อว่า เด็กทุกคนมีพื้นฐานที่สามารถเรียนรู้ ความสามารถทางศิลปะและสร้างสรรค์อยู่ในตัว และพัฒนาได้ตามศักยภาพของตนเอง  โดยมีผู้ใหญ่ใจดี อย่างเราๆเข้าใจและให้โอกาสเหล่านั้น เพื่อมองดูพวกเด็กๆเติบโตก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพ เหมือนดั่งดักแด้ อดทนรอคอยเวลาที่จะเติบโตเป็น ผีเสื้อสีแสนสวยงาม โครงการนี้สำหรับเด็กๆและผู้สนใจทุกคนที่ต้องการ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน



โดยทั้งหมด เรื่องของ 3 ตอน เป็นบรรยายผ่านเรื่องเล่า ที่มาของ  "โปรเจค แอททีเย่ "โดยย่อ โดยทั้งนำโครงเรื่องจากเหตุการณ์จริง  และชื่อสมมติ เพื่อความเหมาะสม เช่น พ่อแม่ของเด็กชายและเด็กชายหัวโหนก ทั้งนี้ต้องกล่าว ขอขอบคุณกลุ่มครอบครัวเพื่อนๆ ครู อาจารย์ ญาติพี่น้อง และกัลยาณมิตรที่หวังดีหลายๆท่าน ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม เด็กชายหัวโหนก ให้เจริญเติบโตตลอดมา



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

ทำไมใครใครยกย่อง ลีโอนาโด ดาวินชี ให้เป็นอัจฉริยะ "สมุดบันทึกของ ลีโอนาโด ดาวินชี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และ สิ่งประดิษฐ์ "