เอ๊ะ ลูกเรามีพรสวรรค์หรือเปล่าน้า_1

วันนี้ได้อ่านข้อความ Line จากเพื่อนที่ส่งมาให้ เรื่อง ทฤษฏีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ของ Howard Gardner
ได้อ่านมาหลายครั้งแล้ว มักลืมจำไม่ค่อยได้ เลยจีงถือโอกาสทบทวนกันอีกครั้ง เลยหาข้อมูลเพิ่มเติม เป็นว่าเป็นประโยชน์ นำมาแชร์ต่อค่ะ จากที่เคยสงสัยว่า เอ๊ะ..ลูกเรามีพรสวรรต์หรือเปล่าน้า
บทความน่าอ่าน ขอบคุณ  ข้อมูลจากมาจาก  https://pantip.com/topic/33338979
ขอบคุณ เจ้าของกระทู้ คุณ omega45 

มาค้นหาพรสวรรค์ของลูกด้วยทฤษฏีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ของ Howard Gardner กันครับ

เนื่องจากเด็กแต่ละคนนั้นมีความถนัดและความชอบที่แตกต่างกัน ดังนั้นบ่อยครั้งที่ความคาดหวังของผู้ใหญ่นั้นมักจะไปขัดกับความต้องการความชอบของเด็กๆ  หากเราสามารถรู้ได้ก่อนว่าลูกเราเป็นเด็กที่มีความชอบหรือมีความถนัดด้านไหนแล้วก็จะช่วยให้เข้าใจลูกมากขึ้นเวลาที่เขางอแงหรือไม่อยากทำอะไรบางอย่าง เพราะบางครั้งมันเกิดจาก “ความไม่ถนัด”  ไม่ใช่จาก “ความขี้เกียจ”  และที่สำคัญคือเราไม่จำเป็นที่จะต้องเลี้ยงให้ลูกเก่งไปเสียทุกอย่าง 
     ความชอบหรือความถนัดนั้นส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นได้เด่นชัดเมื่อเด็กอายุเข้าสู่ช่วงท้ายของวัยอนุบาล (ประมาณ 4 ขวบขึ้นไป)  เนื่องจากเป็นวัยที่พัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งภาษา กล้ามเนื้อ อะไรต่อมิอะไร นั้นพร้อมที่จะทำกิจกรรมต่างๆ  ประกอบกับเด็กในวัยนี้จะมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆมาพอสมควร เช่น เขียนหนังสือ นับเลข วาดรูป ร้องเพลง เล่นกับเพื่อน ฯลฯ  และที่สำคัญมากที่สุดคือเด็กในวัยนี้จะเป็นวัยที่ “ช่างเลือก” คือบอกได้ว่าตัวเอง ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร อยากทำอะไร ไม่อยากทำอะไร ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการสังเกต   หลายคนพยายามสังเกตมานานว่าลูกมีพรสวรรค์ด้านไหน แต่ไม่เห็นเจอเลย วันๆ  เห็นแต่นั่งดูการ์ตูนหรือเล่นแต่  iPad

     นอกจากการสังเกตแล้ว การพาลูกออกไปทดลองทำกิจกรรมต่างๆ นั้นก็มีความสำคัญ เพราะต้องอย่าลืมว่าเด็กเล็กๆ  เองก็ไม่รู้หรอกว่าในโลกนี้มันมีอะไรให้ทำบ้าง  ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาพาลูกๆ  ออกไปทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อค้นหาความชอบและความถนัดของตัวเอง  ซึ่งหากถามว่าแล้วควรออกไปทำอะไรบ้าง  ขอแนะนำว่าให้ทดลองตาม “ทฤษฏีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ของ Howard Gardner”
ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ "ทฤษฎีพหุปัญญา" (The Theory of Multiple Intelligences) ได้เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป  ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง
ความฉลาด 8 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา (8 Multiple Intelligences)1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic)




เด็กที่มีความถนัดด้านภาษาสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาสนุกกับการต่อคำศัพท์และเกมอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ในขณะเดียวกันก็ชื่นชอบโคลงกลอน เพลง และนิทาน เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นนักพูดและนักเล่าเรื่องที่เก่ง

จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านภาษา คือ จำและคิดเป็นภาษาหรือคำศัพท์ อธิบายเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองได้ดีลักษณะของบุคคลที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านภาษา

-          มีนิสัยรักการอ่าน ติดหนังสือ ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ดี
-          มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน พูด หรือเขียน  
-          จำชื่อสถานที่ เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี
-          เจ้าบทเจ้ากลอน มีอารมณ์ขัน ตลก ชอบเล่นปริศนา คำทาย
-          ชอบพูดเล่นคำ สำนวน คำผวน คำพ้อง
-          ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
-          จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำมาเขียนเรื่องราว
-          จัดกิจกรรมให้ได้พูด ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
-          ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น
-          จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม
-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่นักเรียนสนใจ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา เป็นต้น


2. ความฉลาดด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical)




ความฉลาดทางด้านนี้เกี่ยวกับความสามารถในการนำตรรกะมาแก้ไขปัญหา จำแนกสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระเบียบแบบแผนได้ นอกจากนั้น ยังชื่นชอบการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อีกด้วย เด็กที่ฉลาดทางด้านนี้จะชอบเล่นเกมส์ที่ต้องแก้ปัญหาทุกชนิด และสามารถเชื่อมโยงเหตุและผลของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ คือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ดี เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ซับซ้อน เด็กสามารถแยกแยะ จัดลำดับและเข้าใจรูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้น

ลักษณะของบุคคลที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
-          ชอบทดลองแก้ปัญหา สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ เป็นต้น
-          ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล
-          ชอบทำตามสั่ง ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
-          สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และวิทยาการต่าง ๆ
-          ชอบค้นหาเหตุผลมาหักล้างหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่น
-          เชื่อถือเฉพาะแต่สิ่งที่อธิบายได้ มีเหตุผลเพียงพอ
-          ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
-          ให้มีโอกาสได้ทดลอง หรือทำอะไรด้วยตนเอง
-          ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์ งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
-          ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ
-          ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง
-          ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ
-          ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี นักคณิตศาสตร์ นักตรรก

ศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น

3. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical)



เด็กที่ฉลาดด้านดนตรีจะมีความว่องไวต่อเสียง และสามารถเชื่อมโยงระหว่างเพลงและเครื่องดนตรีได้ พวกเขามักจะชอบร้องเพลงและใช้เทคนิคในการเรียนรู้ผ่านบทเพลงและจังหวะต่างๆ ได้
จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านดนตรี คือ พวกเขามักหลงเสน่ห์ดนตรีและเสียงเพลงทำให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นคำคล้องจองหรือเป็นแบบแผน ในขณะที่คนอื่นทำไม่ได้พวกเขาซึมซับและจดจำข้อมูลเป็นแบบแผนและบทกลอนหรือคำคล้องจอง





ลักษณะของบุคคลที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านดนตรี
-          ชอบร้องรำทำเพลง เล่นดนตรี
-          ชอบเสียงต่าง ๆ ชอบธรรมชาติ
-          แยกแยะเสียงต่าง ๆ ได้ดี รู้จักท่วงทำนอง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้ดี
-          ชอบผิวปาก ฮัมเพลงเบา ๆ ขณะทำงาน
-          มักจะเคาะโต๊ะ หรือขยับเท้าตามจังหวะเมื่อฟังเพลง
-          สามารถจดจำเสียงที่เคยได้ยินแม้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งได้
-          เล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชิ้น
-          มักจะได้ยินเสียงเพลงจากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุก้องอยู่ในหูตลอดเวลา

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
-          ให้เล่นเครื่องดนตรี ร้องเพลง ฟังเพลงสม่ำเสมอ
-          หาโอกาสดูการแสดงดนตรี หรือฟังดนตรีเป็นประจำ
-          บันทึกเสียงดนตรีที่นักเรียนแสดงไว้ฟังเพื่อปรับปรุงหรือชื่นชมผลงาน
-          ให้ร้องรำทำเพลงร่วมกับเพื่อนหรือคุณครูเสมอ ๆ
-          ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่ปฏิบัติการร้องเพลง การเคาะจังหวะ การฟังเพลง การเล่นดนตรี การวิเคราะห์ดนตรี วิจารณ์ดนตรี เป็นต้น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง  นักวิจารณ์ดนตรี เป็นต้น

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

ทำไมใครใครยกย่อง ลีโอนาโด ดาวินชี ให้เป็นอัจฉริยะ "สมุดบันทึกของ ลีโอนาโด ดาวินชี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และ สิ่งประดิษฐ์ "