ธรรมะ วรรณสว่างจิต" ดักแด้" โดย พระไพศาส วิสาโล จาก โรงเรียนวรรณสว่างจิต

เช้าวันหนึ่งครูสอนวิทยาศาสตร์พานักเรียนไปรู้จักกับดักแด้ ดักแด้นั้น
ซ่อนตัว อยู่ในรังไหม ซึ่งก็คือเปลือกที่ห่อหุ้มคลุมตัวมันเอาไว้ เพื่อความ
ปลอดภัย เมื่อโตเต็มที่ดักแด้จะกลายเป็นผีเสื้อ ครูชี้ให้นักเรียน ดูว่าก่อน
ที่ดักแด้จะกลายเป็นผีเสื้อ มันต้องใช้เวลานานกว่าจะกระเสือก กระสนออก
มาจากรังไหมที่แน่นหนาได้
 นักเรียนคนหนึ่งเห็นดักแด้ดิ้นรนกระเสือกกระสน
อยู่นานแล้ว แต่ยังออกมาไม่ได้ รู้สึกสงสารขณะที่ครู
เผลอ นักเรียนก็แอบเอามีดโกน กรีดรังไหมเป็นรอยยาว เพื่อช่วยให้ดักแด้ออกมาจากรังไหมได้สะดวก พอมันออกมาเป็นผีเสื้อ นักเรียนก็ดีใจ แต่ปรากฏว่าผีเสื้อตัวนั้นออกมา บินว่อนอยู่ได้ไม่นานก็ตาย นักเรียนทั้งเสียใจและแปลกใจว่าทำไมถึงเป็น เช่นนั้น เมื่อนักเรียนไปเล่าเรื่องนี้ให้ครูฟัง ครูจึงอธิบายว่าการที่ดักแด้ ต้องใช้ ความพยายามดิ้นรนออกมาจากรังไหมอย่างยากลำบากนั้น มีผลดี ต่อตัวมัน เอง เพราะทำให้มันได้ออกกำลัง จึงกลายเป็นผีเสื้อที่มีปีกแข็ง แรง แต่เมื่อ นักเรียนไปช่วยให้มันออกมาจากรังได้อย่างสะดวก มันเลย ไม่ต้องออกแรง จึงกลายเป็นผีเสื้อที่อ่อนแอ ปีกก็ไม่แข็งแรง หากินลำบาก เอาตัวรอดได้ยาก มันจึงอยู่ได้ไม่นาน

ธรรมชาติสร้างความลำบากให้แก่ตัวดักแด้ ก็เพื่อฝึกมันให้เป็นผีเสื้อที่เข้มแข็ง ซึ่งจำเป็นต่อความอยู่รอด แต่นักเรียนไม่รู้ความจริงข้อนี้ มีแต่ความปรารถนาดี อยากเห็นมันสบาย กลายเป็นว่า แทนที่จะช่วยมัน กลับทำให้มันอายุสั้นลง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าความลำบากนั้นมีประโยชน์ ในทางตรงข้ามความสบายนั้นบางครั้งก็มีโทษ ลองนึกดูว่าถ้านักเรียนเป็นดักแด้ นักเรียนอยากเป็นดักแด้ประเภทไหน ประเภทที่ออกมาจากรังไหมได้สะดวกโดยไม่ต้องออกแรง หรือประเภทที่ต้องดิ้นรนออกมาด้วยความเหนื่อยยาก?

คนสมัยนี้อยากเป็นอย่างดักแด้ประเภทแรก คือจะทำอะไรก็ขอให้สบายเอาไว้ก่อน ไม่ต้องออกแรง วัน ๆ จึงเอาแต่นั่ง ๆ นอน ๆ ไปไหนมาไหนก็นั่งรถ เดินไม่เป็น กลับถึงบ้านก็เอาแต่นั่งดูโทรทัศน์ ไม่ยอมออกกำลังกาย ผลก็คือเดี๋ยวนี้ผู้คนจำนวนมากมายเจ็บป่วยด้วย “ โรคขี้เกียจ” ได้แก่โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคมะเร็ง ซึ่งมีสาเหตุจากการไม่ได้ออกกำลัง

คนฉลาดที่หวังความเจริญในชีวิต ย่อมไม่กลัวความยากลำบาก ตรงกันข้ามกลับเห็นว่าความยากลำบากเป็นของดี ดังนั้นแทนที่จะนั่ง ๆ นอน ๆ หรืออยู่หน้าจอโทรทัศน์และจอ คอมพิวเตอร์ทั้งวัน เขาจึงขยันออกกำลังกาย ตื่นเช้าออกมาวิ่งจ๊อกกิ้ง ไปไหนมาไหน ถ้าไม่ไกลมาก ก็เดินเองบ้าง แทนที่จะขึ้นรถหรือใช้ลิฟท์อย่างเดียว


เวลาเรียนหนังสือ คนฉลาดจะไม่กลัวการบ้านหรือวิชาที่ยาก ๆ เพราะรู้ว่าเป็นการฝึกสมองของเขาให้แข็งแรง มีความฉลาดมากขึ้น รวมทั้งมีความอดทนมากขึ้นด้วย เวลาว่าง คนที่รักสบาย จะชอบไปเที่ยว ฟังเพลง เล่นเกมออนไลน์ ส่วนคนที่ฉลาด จะไม่มัวสนุกจนลืมตัว แต่จะรู้เวลาว่าเมื่อไรควรทำการบ้าน มีเวลาเหลือก็อ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่มีประโยชน์

ความสบายนั้น ถูกใจเราก็จริง แต่อาจไม่ถูกต้อง คือไม่เกิดประโยชน์ อาหารที่อร่อยถูกปาก อาจเป็นโทษต่อร่างกายก็ได้ เพราะใส่สารเคมีมากเกินไป (เช่น ขนมกรอบแกรบ) น้ำหวานถูกใจคนดื่มก็จริง แต่ถ้าดื่มมากไปก็ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้ฟันผุ

คนฉลาดย่อมรู้จักแยกแยะว่า “ ถูกใจ” กับ “ ถูกต้อง” นั้นไม่เหมือนกัน สิ่งที่ถูกใจ มักจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง คือเป็นโทษต่อร่างกายและจิตใจ หรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น มันให้ความสบายในระยะสั้น แต่ก่อปัญหาในระยะยาว ส่วนสิ่งที่ถูกต้องนั้น อาจไม่ถูกใจเรา เพราะทำยากกว่า (เช่น กินผัก ออกกำลังกาย ทำการบ้าน ขยันเรียน ทำความดี เสียสละ) แต่จะให้ผลดีในระยะยาว

นักเรียนที่ฉลาด เห็นการณ์ไกล จึงยึดถือความถูกต้อง ไม่เอาความถูกใจเป็นใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มัวแต่หาความสบายใส่ตัว แต่พร้อมจะเผชิญกับความยากลำบาก หากเห็นว่าเป็นสิ่งดีและมีประโยชน์

ถ้านักเรียนทำได้อย่างนี้ ก็จะกลายเป็น “ ผีเสื้อ” ที่แข็งแรง ว่องไวปราดเปรียว และทานทนต่ออุปสรรคทั้งปวง




โรงเรียนวรรณสว่างจิ


Website : www.wsc.ac.th 

เลขที่ ๑๓๗ ถนนพระรามที่ ๒ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐ โทร.๐-๒๘๙๕๖๙๔๔-๖ โทรสาร ๐-๒๔๑๕๘๓๔๔
 E-mail : wsc@wsc.ac.th 

โทร. 0-2895-6944-5  จันทร์ - ศุกร์  เวลา 08.30 - 16.30 น.

วิสัยทัศน์
      เป็นผู้นำในการจัดการศึกษาที่แท้ เพื่อสร้างเด็กให้เกิดศักยภาพสูงสุดอย่างเป็นองค์รวม ใช้ปัญญาพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์สิ่งดีงาม มีจิตสำนึกในความเป็นพลโลก โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากภายในจิตใจ บนความพอเพียงสู่ระดับสากล ด้วยบุคลากรคุณภาพมืออาชีพ

อัตลักษณ์ 
      เติบโตสมวัย มั่นใจตนเอง คิดอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้อย่างมีความสุข


เอกลักษณ
      บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ แบบพอเพียง บนวิถีไทย

พันธกิจ
สำหรับการศึกษาของเรา
      พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนส่งเสริมและการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อ


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

ทำไมใครใครยกย่อง ลีโอนาโด ดาวินชี ให้เป็นอัจฉริยะ "สมุดบันทึกของ ลีโอนาโด ดาวินชี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และ สิ่งประดิษฐ์ "